จิตวิทยาการเรียนการสอน
คำว่า “จิตวิทยา” ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Psychology” มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก ๒ คำ คือคำว่า Psyche กับ Logos
คำว่า Psyche หมายถึงวิญญาณ (Soul) กับคำว่า Logos หมายถึงวิชาการและการศึกษา (Study)
ดังนั้น เมื่อทั้ง ๒ คำรวมกันจึงเป็นคำศัพท์ว่า Psychology มีความหมายว่าด้วยวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณ สมัยกรีกโบราณซึ่งเป็นยุคเริ่มต้นของการศึกษาจิตวิทยา นักปราชญ์ในสมัยนั้นจึงได้พยายามศึกษาค้นคว้าและหาคำตอบว่าวิญญาณ มีความสำคัญและมีอิทธิพลอย่างไรต่อการกระทำของมนุษย์ เป็นการศึกษาที่ไม่มีตัวตน ไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นจริงได้
ประมาณปลายศตวรรษที่ ๑๙ เป็นต้นมา นักจิตวิทยายุคใหม่จึงเปลี่ยนแนวทางศึกษาพฤติกรรม (Behaviors) มนุษย์และสัตว์เฉพาะ และได้นำระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ศึกษาหาคำตอบเกี่ยวกับพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
ในที่สุด จิตวิทยา ได้รับการยอมรับให้เป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์วิชาหนึ่ง (Applied Science) ในยุคนี้มีนักวิชาการทางจิตวิทยาได้ให้ความหมายคำจำกัดความของจิตวิทยาไว้หลายท่านด้วยกันแต่ขอยกมาพอสังเขปดังนี้
วิลเลียม เจมส์ (William James; 1890)[1][๓] ได้ให้คำจำความไว้ว่า “จิตวิทยาเป็นวิชาที่ว่าด้วยกิริยาอาการของมนุษย์”
นอร์แมน แอล. มันน์ (Norman L. Munn; 1969) ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า “จิตวิทยา เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาถึงพฤติกรรมโดยเน้นที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์”
เติมศักดิ์ คทวณิช (๒๕๔๖) ได้สรุปความหมายของจิตวิทยาไว้ว่า “จิตวิทยาเป็นวิชาที่มุ่งศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ โดยใช้ระเบียบวิธีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์”
จากคำจำกัดความที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นว่า “จิตวิทยา” เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการทางจิต (Behavior and Mental Processes) ของมนุษย์ โดยศึกษาว่าพฤติกรรมเหล่านั้นได้รับอิทธิพลอย่างไร จากสภาวะทางร่างกาย สภาพจิตใจ และสิ่งแวดล้อมภายนอก
สรุปได้ว่า จิตวิทยา คือ การศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ว่าด้วยเรื่องพฤติกรรมของสิ่งที่มีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์และสัตว์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเข้าใจ สามารถอธิบาย สามารถทำนาย กำหนดควบคุมพฤติกรรมและนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
จอห์น บี. วัตสัน (John B. Watson; 1913) เป็นนักจิตวิทยาคนแรกที่ได้ให้คำนิยามเกี่ยวกับจิตวิทยาไว้ว่า “จิตวิทยาเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม”
มอร์แกน (Morgan; 1971) ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า “จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์”
ฟิลแมน (Feldman; 1992) ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า “จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการทางจิต ด้วยระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์”
วาเดและทาฟ์ริส (Wade & Tavris; 1998) ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า “จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการทางจิต โดยศึกษาสิ่งเหล่านี้ได้รับอิทธิพลอย่างไรจากสภาวะทางร่างกายและสิ่งแวดล้อมภายนอก”
ธรรมชาติของการเรียนรู้ มี 4 ขั้นตอน คือ
1. ความต้องการของผู้เรียน (Want) คือ ผู้เรียนอยากทราบอะไร เมื่อผู้เรียนมีความต้องการอยากรู้อยากเห็นในสิ่งใดก็ตาม จะเป็นสิ่งที่ยั่วยุให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้
2. สิ่งเร้าที่น่าสนใจ (Stimulus) ก่อนที่จะเรียนรู้ได้ จะต้องมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจ และน่าสัมผัสสำหรับมนุษย์ ทำให้มนุษย์ดิ้นรนขวนขวาย และใฝ่ใจที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่น่าสนใจนั้น ๆ
3. การตอบสนอง (Response) เมื่อมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจและน่าสัมผัส มนุษย์จะทำการสัมผัสโดยใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่น ตาดู หูฟัง ลิ้นชิม จมูกดม ผิวหนังสัมผัส และสัมผัสด้วยใจ เป็นต้น ทำให้มีการแปลความหมายจากการสัมผัสสิ่งเร้า เป็นการรับรู้ จำได้ ประสานความรู้เข้าด้วยกัน มีการเปรียบเทียบ และคิดอย่างมีเหตุผล
4. การได้รับรางวัล (Reward) ภายหลังจากการตอบสนอง มนุษย์อาจเกิดความพึงพอใจ ซึ่งเป็นกำไรชีวิตอย่างหนึ่ง จะได้นำไปพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น การได้เรียนรู้ ในวิชาชีพชั้นสูง จนสามารถออกไปประกอบอาชีพชั้นสูง (Professional) ได้ นอกจากจะได้รับรางวัลทางเศรษฐกิจเป็นเงินตราแล้ว ยังจะได้รับเกียรติยศจากสังคมเป็นศักดิ์ศรี และความภาคภูมิใจทางสังคมได้ประการหนึ่งด้วย
ในกระบวนการเรียนรู้ของคนเรานั้น จะประกอบด้วยลำดับขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญ 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ (1) ประสบการณ์ (2) ความเข้าใจ และ (3) ความนึกคิด
1. ประสบการณ์ (experiences) ในบุคคลปกติทุกคนจะมีประสาทรับรู้อยู่ด้วยกันทั้งนั้น ส่วนใหญ่ที่เป็นที่เข้าใจก็คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า ซึ่งได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง ประสาทรับรู้เหล่านี้จะเป็นเสมือนช่องประตูที่จะให้บุคคลได้รับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ถ้าไม่มีประสาทรับรู้เหล่านี้แล้ว บุคคลจะไม่มีโอกาสรับรู้หรือมีประสบการณ์ใด ๆ เลย ซึ่งก็เท่ากับเขาไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใด ๆ ได้ด้วยประสบการณ์ต่าง ๆ ที่บุคคลได้รับนั้นย่อมจะแตกต่างกัน บางชนิดก็เป็นประสบการณ์ตรง บางชนิดเป็นประสบการณ์แทน บางชนิดเป็นประสบการณ์รูปธรรม และบางชนิดเป็นประสบการณ์นามธรรม หรือเป็นสัญลักษณ์
2. ความเข้าใจ (understanding) หลังจากบุคคลได้รับประสบการณ์แล้ว ขั้นต่อไปก็คือ ตีความหมายหรือสร้างมโนมติ (concept) ในประสบการณ์นั้น กระบวนการนี้เกิดขึ้นในสมองหรือจิตของบุคคล เพราะสมองจะเกิดสัญญาณ (percept) และมีความทรงจำ (retain) ขึ้น ซึ่งเราเรียกกระบวนการนี้ว่า "ความเข้าใจ" ในการเรียนรู้นั้น บุคคลจะเข้าใจประสบการณ์ที่เขาประสบได้ก็ต่อเมื่อเขาสามารถจัดระเบียบ (organize) วิเคราะห์ (analyze) และสังเคราะห์ (synthesis) ประสบการณ์ต่าง ๆ จนกระทั่งหาความหมายอันแท้จริงของประสบการณ์นั้นได้
3 ความนึกคิด (thinking) ความนึกคิดถือว่าเป็นขั้นสุดท้ายของการเรียนรู้ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในสมอง Crow (1948) ได้กล่าวว่า ความนึกคิดที่มีประสิทธิภาพนั้น ต้องเป็นความนึกคิดที่สามารถจัดระเบียบ (organize) ประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับให้เข้ากันได้ สามารถที่จะค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ทั้งเก่าและใหม่ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้เกิดบูรณาการการเรียนรู้อย่างแท้จริง
การนำหลักการมาประยุกต์ใช้ในการสอน
......๑. ครูสามารถนำหลักการเรียนรู้ของทฤษฎีนี้มาทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนที่แสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึกทั้งด้านดีและไม่ดี รวมทั้งเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น วิชาที่เรียน กิจกรรม หรือครูผู้สอน เพราะเขาอาจได้รับการวางเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ก็เป็นได้
......๒. ครูควรใช้หลักการเรียนรู้จากทฤษฎีปลูกฝังความรู้สึกและเจตคติที่ดีต่อเนื้อหาวิชา กิจกรรมนักเรียน ครูผู้สอนและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้เกิดในตัวผู้เรียน
......๓. ครูสามารถป้องกันความรู้สึกล้มเหลว ผิดหวัง และวิตกกังวลของผู้เรียนได้โดยการส่งเสริมให้กำลังใจในการเรียนและการทำกิจกรรม ไม่คาดหวังผลเลิศจากผู้เรียน และหลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์หรือลงโทษผู้เรียนอย่างรุนแรงจนเกิดการวางเงื่อนไขขึ้น กรณีที่ผู้เรียนเกิดความเครียด และวิตกกังวลมาก ครูควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ผ่อนคลายความรู้สึกได้บ้างตามขอบเขตที่เหมาะสม
๑. Respondent Behavior พฤติกรรมหรือการตอบสนองที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ หรือเป็นปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex) ซึ่งสิ่งมีชีวิตไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เช่น การกระพริบตา น้ำลายไหล หรือการเกิดอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ
๒. Operant Behavior พฤติกรรมที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตเป็นผู้กำหนด หรือเลือกที่จะแสดงออกมา ส่วนใหญ่จะเป็นพฤติกรรมที่บุคคลแสดงออกในชีวิตประจำวัน เช่น กิน นอน พูด เดิน ทำงาน ขับรถ ฯลฯ.
การเรียนรู้ตามแนวคิดของสกินเนอร์ เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเช่นเดียวกัน แต่สกินเนอร์ให้ความสำคัญต่อการตอบสนองมากกว่าสิ่งเร้า จึงมีคนเรียกว่าเป็นทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบ Type R นอกจากนี้สกินเนอร์ให้ความสำคัญต่อการเสริมแรง (Reinforcement) ว่ามีผลทำให้เกิดการเรียนรู้ที่คงทนถาวร ยิ่งขึ้นด้วย สกินเนอร์ได้สรุปไว้ว่า อัตราการเกิดพฤติกรรมหรือการตอบสนองขึ้นอยู่กับผลของการกระทำ คือ การเสริมแรง หรือการลงโทษ ทั้งทางบวกและทางลบ
.....๑. การเสริมแรง และ การลงโทษ
.....๒. การปรับพฤติกรรม และ การแต่งพฤติกรรม
.....๓. การสร้างบทเรียนสำเร็จรูป
..........การเสริมแรง (Reinforcement) คือการทำให้อัตราการตอบสนองหรือความถี่ของการแสดงพฤติกรรมเพิ่มขึ้นอันเป็นผลจากการได้รับสิ่งเสริมแรง (Reinforce) ที่เหมาะสม การเสริมแรงมี ๒ ทาง ได้แก่
..........๑. การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement ) เป็นการให้สิ่งเสริมแรงที่บุคคลพึงพอใจ มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมถี่ขึ้น
...........๒. การเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) เป็นการนำเอาสิ่งที่บุคคลไม่พึงพอใจออกไป มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมถี่ขึ้น
จิตวิทยา (อังกฤษ: psychology อ่านว่า ไซโคโลจี)
..........คือศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต) , กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
..........เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์) , อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม,
..........และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการศึกษา, การจ้างงานเป็นต้น) และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษาทำความเข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการควบคุมและแสดงออกของพฤติกรรม
>>>>ในปัจจุบันนี้เมื่อกล่าวถึงการรับรู้และการเรียนรู้ จะมีการศึกษาค้นคว้าวิจัยตามแนวทาง ของแต่ละความหมาย บางคนให้นิยามเกี่ยวกับการรับรู้คือกระบวนการที่เกิดแทรกอยู่ ระหว่างสิ่งเร้า และการตอบสนองต่อสิ่งเร้า ส่วนการเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งเนื่องมาจากประสบการณ์หรือการฝึกหัด
การรับรู้ คือ การสัมผัสที่มีความหมาย หรือการรู้ รู้สึกสิ่งต่างๆ สภาพต่างๆ ที่เป็นสิ่งเร้ามาทำปฎิกิริยากับตัวเราเป็นการแปลอาการสัมผัสให้มีความหมายขึ้นเกิด ซึ่งเป็นความรู้สึกซึ่งเฉพาะตัวสำหรับบุคคลนั้นๆ เมื่อมีการรู้สึกเกิดขึ้นจากอวัยวะในการรับความรู้สึกอันได้แก่ ตา หู ปาก จมูก ผิวหนัง อื่นๆ และถ้าการรู้สึกมีการตีความว่า การรู้สึกที่เกิดขึ้นคืออะไร นั่นถือว่ามีการรับรู้เกิดขึ้นแล้ว
..........คือศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต) , กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
..........เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์) , อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม,
..........และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการศึกษา, การจ้างงานเป็นต้น) และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษาทำความเข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการควบคุมและแสดงออกของพฤติกรรม
>>>>ในปัจจุบันนี้เมื่อกล่าวถึงการรับรู้และการเรียนรู้ จะมีการศึกษาค้นคว้าวิจัยตามแนวทาง ของแต่ละความหมาย บางคนให้นิยามเกี่ยวกับการรับรู้คือกระบวนการที่เกิดแทรกอยู่ ระหว่างสิ่งเร้า และการตอบสนองต่อสิ่งเร้า ส่วนการเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งเนื่องมาจากประสบการณ์หรือการฝึกหัด
การรับรู้ คือ การสัมผัสที่มีความหมาย หรือการรู้ รู้สึกสิ่งต่างๆ สภาพต่างๆ ที่เป็นสิ่งเร้ามาทำปฎิกิริยากับตัวเราเป็นการแปลอาการสัมผัสให้มีความหมายขึ้นเกิด ซึ่งเป็นความรู้สึกซึ่งเฉพาะตัวสำหรับบุคคลนั้นๆ เมื่อมีการรู้สึกเกิดขึ้นจากอวัยวะในการรับความรู้สึกอันได้แก่ ตา หู ปาก จมูก ผิวหนัง อื่นๆ และถ้าการรู้สึกมีการตีความว่า การรู้สึกที่เกิดขึ้นคืออะไร นั่นถือว่ามีการรับรู้เกิดขึ้นแล้ว
คุณลักษณะของผู้รับรู้*****
1. ประสบการณ์
2. ความตีอาการทางร่างกาย
3. อิทธิพลทางสังคม
*****ลักษณะของความคลาดเคลื่อน คือ*****
1. การเติมสิ่งหนึ่งสิ่งใด
2. ขนาดสัมพันธ์
3. การเกิดมุมหรือการตัดกันของเส้น
*****องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ มีดังนี้*****1.ความสมบูรณ์ของอวัยวะรับสัมผัส
2.การแปลความหมาย
3.การใช้ประสบการณ์เดิม
4.ความตั้งใจที่จะรับรู้
5.วัยของผู้รับรู้
1. ประสบการณ์
2. ความตีอาการทางร่างกาย
3. อิทธิพลทางสังคม
*****ลักษณะของความคลาดเคลื่อน คือ*****
1. การเติมสิ่งหนึ่งสิ่งใด
2. ขนาดสัมพันธ์
3. การเกิดมุมหรือการตัดกันของเส้น
*****องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ มีดังนี้*****1.ความสมบูรณ์ของอวัยวะรับสัมผัส
2.การแปลความหมาย
3.การใช้ประสบการณ์เดิม
4.ความตั้งใจที่จะรับรู้
5.วัยของผู้รับรู้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น